You are currently viewing Digital Transformation เกิดได้เพราะอุปสรรคทางกฎหมายถูกทำลาย

Digital Transformation เกิดได้เพราะอุปสรรคทางกฎหมายถูกทำลาย

หลายท่านคงได้ยินคำว่า Digital Transformation หรือ Digital Disruption กันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเวลานี้เนื่องจากเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแบบดั้งเดิมล้วนประสบกับผลกระทบของ Digital Disruption จากเทคโนโลยีดิจิทัลและรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจค้าปลีกต้องต่อสู้กับ e-Commerce, ธุรกิจสื่อโฆษณาที่โดนแย่งพื้นที่โดยแพลทฟอร์มต่างชาติ เช่น Facebook, Google หรือ LINE  ลองนึกมองย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้เวลาเราอยากดูหนังเราก็ไปดูที่โรงภาพยนต์หรือไม่ก็ไปเช่าแผ่นจากร้านเช่าหนัง เช่น blockbuster, Tsutaya, เฟม วีดีโอ เป็นต้น แต่หันมามองอีกที่ร้านเหล่านี้หายไปจากตลาดแบบคาดไม่ถึงเพราะคนส่วนใหญ่หันไปใช้บริการ Online Streaming ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, HBO, Google Play Movies เป็นต้น ซึ่งแพลทฟอร์มพวกนี้ล้วนเป็นของต่างชาติทั้งสิ้น  ประเด็นที่เราต้องตั้งคำถามคือแล้วถ้ามีคนไทยซักคนสนใจที่จะทำเรื่องนี้ ในทางปฏิบัติแล้วประเทศเราพร้อมหรือปล่าว

ลองนึกภาพว่าถ้าคุณต้องการสร้าง Platform ขึ้นมาแข่งกับ Netflix แต่ต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อเป็นเรื่องได้ด้วยโดยจะตั้งราคาขายไว้ที่ 29 บาทต่อการดูหนึ่งครั้ง หลายคนอาจจะคิดว่าก็ไม่เห็นมีอะไรผิดปกตินี่ ก็น่าจะทำได้นะ แต่ลองพิจาณาดูดีๆ นะครับว่า ถ้าจะแข่งขันได้ “ต้นทุน” ต้องต่ำกว่าคู่แข่ง

เมื่อก่อนนี้เรามีปัญหา (Digital Transformation Obstacles)

  • ปัญหาที่ 1 การได้เปรียบเรื่องต้นทุนภาษีที่รัฐไม่สามารถจัดเก็บได้จากผู้ให้บริการ platform จากต่างประเทศเนื่องจากกฎหมายไม่รองรับ ทำให้เราเสียเปรียบเนื่องจากตัวเองต้องเสียภาษีแต่คู่แข่งไม่ต้องเสียภาษี
  • ปัญหาที่ 2 ต้นทุนค่าดำเนินการที่ยังคงใช้วิธีแบบเดิมๆ
    • ปัญหาที่ 2.1 ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังดำเนิธุรกิจด้วยวิธีการเดิมๆ ที่ข้อมูลการค้าทุกอย่างอยู่บนกระดาษ มีกระบวนการจัดทำเอกสารเป็นกระดาษทุกขั้นตอนที่ต้องการบันทึกหลักฐาน
    • ปัญหาที่ 2.2 ในการที่เราจะติดต่อเจ้าของ Content หรือเจ้าของภาพยนต์มาฉายในระบบของเราก็ต้องมีการทำสัญญาระหว่างกันและคงหนีไม่พ้นที่จะจัดทำเป็นกระดาษ เสร็จแล้วก็มีการรับส่งระหว่างกันโดยใช้คนส่งเอกสารในการรับส่งจะเห็นได้ว่าเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรับส่งเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษ
    • ปัญหาที่ 2.3 และหากเรายังใช้กระดาษอยู่การวางบิลก็เช่นกัน มีค่ากระดาษ ค่าหมึก ค่าไฟ ค่าส่ง ค่าเก็บ ค่าใช้จ่ายในการวางบิลเหล่านี้ไม่มีเกิดขึ้นที่ฝั่ง Netflix
    • ปัญหาที่ 2.4 ค่าพื้นที่ที่เสียไปสำหรับจัดเก็บกระดาษ ก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะเลือกตั้ง office ที่ไหนในขณะที่ Netflix ไม่มีสำนักงานในเมืองไทยและไม่มีกระดาษให้เก็บ
  • ปัญหาที่ 3  ต้นทุนทางด้านเทคโนโลยี เพราะประเทศเราเป็นแค่ผู้บริโภคเทคโนโลยี่เป็นหลัก ไม่เหมือนประเทศที่เป็นเจ้าของแพลทฟอร์มที่เราอ้างถึงที่เขาเป็นตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เป็นผู้ตลิตฮาร์ดแวร์ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านเครือข่าย แถมยังเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการไปยัน application ที่พวกเราใช้

ปัจจุบันเรามีทางออก (Digital Trasformation Solutions)

up-arrow

ทางออกที่ 1 ปัจจุบันประเทศเรามีการปรับปรุงกฏหมายและระเบียบราชการต่างๆ ให้รองรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคในประเทศไทยโดยมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยจัดเก็บในอัตรา 7% ของค่าบริการ ที่เราเรียกกันว่า “ภาษี e-Service”

e-Service
up-arrow

ทางออกที่ 2 สำหรับปัญหาที่สองนั่นสามารถแก้ได้ด้วยการหันมาใช้เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์และใช้ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจริงๆแล้วเรื่องนี้ทั้งในต่างประเทศและบ้านเราก็ทำกันมานานแต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายลงไปในองค์กรระดับ SME มากนักเนื่องจากในสมัยก่อนค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์และค่าดำเนินการ (Implement) แพงมาก ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้มีชื่อเรียกที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่หลายคำเช่น Document Management System (DMS) ในยุคแรกๆ หรือเรียกว่า Enterprise Content Management (ECM) ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และล่าสุดใช้คำว่า Content Services Platform เนื่องจากว่าผู้เล่นในตลาด ECM เดิมย้ายไปให้บริการในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) กันซะส่วนใหญ่ ปัจจุบันในประเทศเรามีผู้ให้บริการระบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อยู่พอสมควร ทั้งสัญชาติไทย และต่างชาติ เช่น

  • ต่างชาติ
dropbox
Google_Drive
OneDrive
Box
  • ไทย

ทั้งนี้บริการของแต่ละค่ายอาจจะมี Feature ที่ต่างกันไปซึ่งผมจะเขียนอธิบายถึงเรื่องนี้ให้อ่านอีกทีในบทความถัดๆ ไป

up-arrow

ทางออกที่ 3  ในเรื่องต้นทุนทางด้านเทคโนโลยีนั้นยังไงเราก็เป็นรองเนื่องจากเราไม่สามารถผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับ Infrastructure ซึ่งเป็นต้นน้ำของการให้บริการแบบนี้ได้เลย เพราะกระทั่งผู้ให้บริการ Infrastructure as a Service หรือ Cloud Service ในประเทศยังต้องซื้อ Hardware จากต่างประเทศอยู่ดี ดังนั้นคงต้องเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการที่ให้บริการในประเทศได้ซึ่งก็มีไม่น้อย เช่น Google Cloud, Amazon AWS, Alibaba Cloud, Internet Thailand, SIS Cloud เป็นต้น

ประเด็นทางกฎหมาย

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่มีข้อสงสัยและถกเถียงกันอยู่พอสมควรในเรื่องของกฏหมายที่จะรองรับการใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษแบบเดิมโดยสิ้นเชิง จากหนังสือ “กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล” ของรองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร ซึ่งท่านได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับกฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน “คณะกรรมการปฏิรูปกฏหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”  และเป็นผู้เขียนยกร่าง “รายงานความเห็นและข้อเสนอแนะของอนุกรรมการปฏิรูปกฏหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” ที่ในปัจจุบันเรามีฉบับล่าสุดคือ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563” ท่านได้ชี้ให้เห็นถึง “อุปสรรค”​ ทางกฎหมายที่มีผลกระทบกับการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในยุคไร้พรมแดนไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำเป็น “หนังสือ” หรือการมี “หลักฐานเป็นหนังสือ”
  2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับลายมือชื่อ
  3. ข้อกำหนดเกี่ยวกับเอกสารต้นฉบับ
  4. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำสืบพยานหลักฐาน

อุปสรรคที่ 1 เพราะไม่เคยมีใครเคยนิยามว่า “หนังสือ” หรือการมี  “หลักฐานเป็นหนังสือ” นั้นหมายรวมถึงหนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น

  • มาตรา 456 กำหนดให้สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 20,000 บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่กรณีฝ่ายผู้ต้องรับผิด ….
  • มาตรา 572 กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะเว้นแต่ได้ทำเป็นหนังสือ
up-arrow

ถูกทะลายลงโดย มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Digital Transformation No8

อุปสรรคที่ 2 เช่นเดียวกับตัวอย่าง มาตรา 456 ด้านบนหากเราหันไปใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่อาจตีความได้ว่ามันคือลายมือชื่อตามที่บัญญัติไว้ก่อนหน้า ดังตัวอย่างคดีข้อพิพาทในอดีตที่รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นครได้ยกให้เห็นในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายที่ใช้วิธีติดต่อซื้อขายด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และสุดท้ายศาลฎีกาตัดสินว่าสัญญาซื้อขายรายการนี้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกร้องกันได้เนื่องจากมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและรายมือชื่อของผู้ขาย คำพิพากษาในคดีนี้จึงแสดงให้เห็นว่า การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปสรรคหรือข้อขัดข้องทางกฎหมายอย่างชัดเจน

up-arrow

ถูกทะลายลงโดย มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Digital Transformation No9

อุปสรรคที่ 3 มาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดว่าในการอ้างเอกสารเป็นพยานในศาลให้ศาลรับฟังเฉพาะเอกสารต้นฉบับเท่านั้น และมีการตีความว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในหน่วยความจำ (Memory) คือข้อมูลต้นฉบับ ส่วนไฟล์ที่เราเซฟลงฮาร์ดดิสก์ หรือ Thumb Drive เขาจะเรียกว่าสำเนาซึ่งถ้าตีความตามนี้ก็หมายความว่า ไฟล์ข้อมูลหรือเอกสารที่เก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์คือ “สำเนา” ทั้งสิ้น ถ้าจะฟ้องร้องก็ต้องไม่ปิดเครื่องคอมพ์เพราะถ้าปิดต้นฉบับก็จะหาย !!!

up-arrow

ถูกทะลายลงโดย มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Digital Transformation No10

อุปสรรคที่ 4  ในประเทศไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 5 ได้จำแนกพยานหลักฐานออกเป็น 4 ประเภทคือ พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญ จะเห็นได้ว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ถูกบัญญัติให้มีสภาพเป็นพยานในประเภทใดเลย “แปลว่าเอาไปฟ้องร้องไม่ได้” มันจึงเป็นอุปสรรค

up-arrow

ถูกทะลายลงโดย มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

Digital Transformation No11

ดังนั้นเราจะเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจะเป็น Thailand 4.0 ของเราพร้อมแล้วในเชิงกฎหมาย แต่ยังครับ ยังก่อนยังมีอีกหลายสิ่งที่เราต้องมาดูกันอีกว่าพร้อมหรือยัง

Digital Transformation Happen