Categories: ECM

อะไรที่นำเข้า Input Management ได้

            จากบทความ “Input Management ประตูสู่คลังเก็บ Content” ได้กล่าวถึง Input Management คืออะไรไปแล้ว ในบทความนี้จะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มีอะไรที่เรียกว่าเป็น Input สำหรับนำเข้าไปเก็บใน Content Server ผ่านทาง Input Management ได้บ้าง

Paper

            แน่นอนเลยว่าการดำเงินงานบริษัทส่วนใหญ่ใช้กระดาษเป็นหลัก ทั้งเอกสารภายในและได้รับจากบริษัทภายนอก ยิ่งบริษัทใหญ่แล้วในแต่ละวันจะใช้งานเอกสารกระดาษนี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น Software Input Management ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการสแกนเอกสาร ก่อนหน้านี้การสแกนจะทำได้ผ่าน Windows Application เท่านั้น แต่ปัจจุบัน Software หลายๆ ค่ายสามารถสแกนเอกสารได้ผ่าน Web browser แล้วทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น

Electronic Document Files

            เอกสารนอกจากเป็นกระดาษที่นำเข้า Input Management ด้วยการสแกนแล้ว เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ก็สามารถนำเข้าได้ โดย Software ส่วนใหญ่เปิดให้ browse ไฟล์ได้ และหากมีไฟล์เยอะๆ ก็สามารถรวมไว้ในโฟลเดอร์และ browse จากโฟลเดอร์ได้เลย รูปแบบของไฟล์ที่จะนำเข้าได้ส่วนใหญ่จะมีหลักๆ ดังนี้

  • Image files (*.bmp, *.dib, *.tiff, *.jpeg, *.jpg, *.jb2, *.png, *.gif, *.pcx, *.dcx, *wdp, *.djvu)
  • PDF files (*.pdf)
  • Tables (*.xls, *.xlsx, *.ods)
  • Microsoft Word (*.doc, *.docx)
  • Microsoft Excel (*.xls, *.xlsx, *.ods)

Archived Files

            เป็นไฟล์ที่ถูกเข้ารหัส ซึ่งถ้าด้านในเป็นไฟล์เอกสาร ก็สามารถแตกไฟล์ เพื่อนำไฟล์เอกสารเข้าไปเก็บ หรือถ้าไม่ใช่ก็สามารถเก็บ Archived ไฟล์ ได้เลย โดยทั่วไปจะมีไฟล์ 2 นามสกุลคือ *.zip และ *.rar

Email

            Email กลายเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานไปแล้ว แต่ละวันมี email เข้ามาใน mail box ของเราหลายฉบับ จึงทำให้เกิดความต้องการที่จะเก็บ email เก่าๆ ที่สำคัญเก็บแยกไว้ เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและนำมาใช้งานในอนาคต Software Input Management หลายๆ ค่ายจึงมีความสามารถให้เก็บ email ได้ใน 2 รูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • Original email file เป็นการเก็บไฟล์ต้นฉบับของ email เลย แต่สามารถนำเนื้อหาใน email มาเก็บเป็น index ได้
  • Content file เป็นการแยกเก็บไฟล์ โดยเนื้อ email อาจจะเก็บเป็น Text file ส่วน attach file ก็แยกเก็บตามนั้น โดยจะเก็บรวมทุกไฟล์ใน email นี้อยู่ใน folder เดียวกันก็ได้ หรือจะแยกเก็บตามประเภทไฟล์ก็ได้เช่นกัน

            นอกจากความสามารถในการเก็บแล้ว Input Management Software บางค่ายมี workflow มาให้ด้วย จึงใช้ประโยชน์จากการได้รับ email ใน mail box มาใช้ในการเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของ workflow

Existing Software

            การเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ก็เป็นประโยชน์สำคัญอีกอย่างของ Input Management Software โดยบางค่ายเปิดให้รับ input file จากระบบงาน ERP เพื่อให้การจัดเก็บเอกสารรวมศูนย์อยู่ที่เดียวกันทั้งองค์กร ทำให้บริหารจัดการง่ายขึ้น

Other Electronic Files

            ยังมี input อีกหลายแบบที่สามารถนำเข้ามาใน Input Management Software ได้ เช่น

  • Presentation (*.ppt, *.pps, *.pptx, *.ppsx, *.odp)
  • Text Files (*.rtf, *.txt, *.odt, *.xml)
  • Web Page (*.html, *.htm)

            นอกจากไฟล์ประเภทต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ที่สามารถนำเข้าไปเก็บใน Content Server ผ่านทาง Input Management Software ได้แล้ว ยังมีไฟล์อีกหลายชนิดที่สามารถเก็บไว้ใน Content Server ได้อีกเช่น ไฟล์วีดีโอ, mp3, MS Visio, AutoCAD ฯลฯ แต่ไฟล์เหล่านี้จะไม่ได้ส่งผ่านทาง Input Management Software

            ในบทความถัดไป ผมจะนำเรื่อง Recognition มาเขียนให้ทุกท่านอ่าน เพื่อให้เข้าใจในอีกความสามารถหลักของ Input Management Software แบบเจาะลึกกัน

Wekij Liwrojsup

Recent Posts

Digital Transformation เกิดได้เพราะอุปสรรคทางกฎหมายถูกทำลาย

หลายท่านคงได้ยินคำว่า Digital Transformation หรือ Digital Disruption กันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเวลานี้เนื่องจากเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแบบดั้งเดิมล้วนประสบกับผลกระทบของ Digital Disruption จากเทคโนโลยีดิจิทัลและรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจค้าปลีกต้องต่อสู้กับ e-Commerce,…

3 years ago

พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย  กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" มีหลักการ คือ หลักความเท่าเทียมกัน…

3 years ago

e-Stamp พร้อมใช้ สะดวกและรวดเร็ว

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ (e-Stamp) ที่จัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระใดๆ ที่สร้างขึ้นโดยระบบของผู้ทำตราสารเพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุถึงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ โดยตราสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับต้องมีหมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซ้ำกัน มีตราสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดบ้างที่สามารถซื้ออากรแสตมป์ (e-Stamp) ได้…

3 years ago

e-KYC คืออะไร? และ ได้รับความนิยมในประเทศไทยแบบไหนบ้าง?

e-KYC ( Electronic Know Your Customer) คือ การทำความรู้จักลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ซึ่งผู้เก็บข้อมูลของสถาบันการเงินต้องใช้ทักษะและความชำนาญของการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุตัวตนบุคลากร (Identification) และยืนยันตัวตน (Verification) แทนการใช้ KYC หรือ…

3 years ago

Paperless ใช้ชีวิตแบบไม่ใช้กระดาษ…ได้อย่างไร ??

ปัจจุบันนี้ ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกยังคงเคยชินกับการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน มองไปรอบๆ ตัวเราก็มักจะเห็นแผ่นกระดาษอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ทำไมผู้คนจึงยังไม่ได้รับความสะดวกสบายจากชีวิตที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless) คำตอบคือ นิสัย หากคุณยังเคยชินกับการทำกิจวัตรแบบเดิม ๆ ก็ยากที่จะเลิกใช้กระดาษที่บ้านหรือที่ทำงาน ต่อไปนี้เป็นนิสัย 5…

3 years ago

RPA for Manufacturing and Logistic

เพิ่มการเติบโตและผลกำไรของบริษัท โดยเชื่อมโยงกระบวนการต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานของคุณ ด้วย RPA           Kofax RPA สำหรับงานด้านการขนส่งและโลจิสติก จะช่วยคุณลดต้นทุนของการใช้คนในการทำงาน…

5 years ago