Categories: e-Stamp

e-Stamp พร้อมใช้ สะดวกและรวดเร็ว

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง

ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ (e-Stamp) ที่จัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

หมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง

ตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระใดๆ ที่สร้างขึ้นโดยระบบของผู้ทำตราสารเพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุถึงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ โดยตราสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับต้องมีหมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซ้ำกัน

มีตราสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดบ้างที่สามารถซื้ออากรแสตมป์ (e-Stamp) ได้

การขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต ทาง API ที่กรมสรรพากรเปิดให้บริการ ปัจจุบันรองรับ 27 ตราสาร ได้แก่

  1. ตราสาร 1 เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
  2. ตราสาร 2 โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร ใบรับรองหนี้ฯ
  3. ตราสาร 3 เช่าซื้อทรัพย์สิน
  4. ตราสาร 4 จ้างทำของ
  5. ตราสาร 5 กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร
  6. ตราสาร 6 กรมธรรม์ประกันภัย
  7. ตราสาร 7 ใบมอบอำนาจ
  8. ตราสาร 8 ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
  9. ตราสาร 9(1) ตั๋วแลกเงิน
  10. ตราสาร 9(20) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
  11. ตราสาร 10 บิลออฟเลดิง (ใบตราส่งสินค้า)
  12. ตราสาร 11(1) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ฯ
  13. ตราสาร 11(2) พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย
  14. ตราสาร 12 เช็ค
  15. ตราสาร 13 ใบรับฝากเงิน
  16. ตราสาร 14 เลตเตอร์ออฟเครดิต
  17. ตราสาร 15 เช็คสำหรับผู้เดินทาง
  18. ตราสาร 16 ใบรับรอง
  19. ตราสาร 17 ค้ำประกัน
  20. ตราสาร 18 จำนำ
  21. ตราสาร 19 ใบรับของคลังสินค้า
  22. ตราสาร 20 คำสั่งให้ส่งมอบของ
  23. ตราสาร 21 ตัวแทน
  24. ตราสาร 23 คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
  25. ตราสาร 27(ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
  26. ตราสาร 27(ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
  27. ตราสาร 28(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิยานพาหนะ

สามารถยื่นขอเสียอากรแสตมป์ (e-Stamp) ได้เมื่อไหร่

ผู้มีหน้าที่เสียอากรต้องยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระเงินค่าอากรก่อนกระทำตราสารหรือภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวันสุดท้ายของการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินเป็นวันหยุดราชการ ให้ยื่นได้ภายในวันที่เริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันหยุดราชการนั้น

ทั้งนี้ ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการชำระเงินค่าอากรก่อนกระทำตราสาร 30 วัน

https://estamp.rd.go.th/stampweb/#/index

ขั้นตอนในการขอเสียอากรแสตมป์ (e-Stamp)

1. เข้าสู่ระบบ โดยสามารถขอเสียอากร ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยต้องเป็นสมาชิกยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ต
  2. Application Programming Interface (API) ของกรมสรรพากร ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือผู้ให้บริการต้องขอใช้บริการ โดยยื่นแบบขอจัดทำและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน API (ภ.อ.01.2) หรือใช้บริการผ่านผู้ให้บริการ GeStamp Duty

2. บันทึกข้อมูลรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์

กรอกข้อมูลรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์บนระบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากรหรือนำส่งทาง API

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีหมายเลขอ้างอิงและหมายเลขอ้างอิงนี้จะต้องไม่ซ้ำกันในแต่ละตราสาร

3. ชำระเงิน

เมื่อส่งข้อมูลรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ระบบจะสร้าง Pay-in slip ให้ สามารถชำระเงินผ่านช่องทางดังนี้

  1. Thai QR
  2. QR Cross Bank
  3. เคาน์เตอร์ธนาคาร โดยจะต้องเป็นธนาคาร “กรุงไทย” เท่านั้น

ช่องทางในการรับรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ (e-Stamp) และใบเสร็จรับเงิน (e-Receipt)

  1. กรณีขอเสียอากรทางเว็บไซต์ ให้ดาวน์โหลดรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ และใบเสร็จรับเงิน จากเว็บไซต์ โดยผ่านระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
  2. กรณีขอเสียอากรทาง Application Programming Interface (API) ให้ขอรับรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ และใบเสร็จรับเงิน ผ่านช่องทาง API

เมื่อได้ชำระค่าอากรแสตมป์และกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ พร้อมใบเสร็จรับเงิน (e-Receipt) ซึ่งมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เสียอากรแล้ว ถือว่าแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว 

ใบเสร็จรับเงินออกในนามใคร

ใบเสร็จจะออกในนามของผู้ที่เข้าสู่ระบบและทำรายการชำระอากรแสตมป์ โดยผู้ที่ขอเสียอากรแสตมป์จะต้องเป็นคู่สัญญาในการกระทำตราสารเท่านั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าผู้ทำรายการจะต้องเป็นคู่สัญญาที่มีหน้าที่ชำระอากรเท่านั้น ฝ่ายไหนเป็นผู้ทำรายการก็ได้ เช่น สัญญาจ้างทำของ โดยปกติผู้ชำระอากรจะต้องเป็นผู้รับจ้าง หากผู้ว่าจ้างเป็นผู้เข้าสู่ระบบและทำรายการขอชำระอากร ใบเสร็จรับเงินจะออกในนามของผู้ว่าจ้าง

มีรายการเป็นจำนวนมากทำอย่างไร

สามารถใช้วิธีการขอเสียอากรทาง API หรือจะใช้บริการผ่านผู้ให้บริการยื่นขอเสียอากรแสตมป์อิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gestampduty.com

ปัจจุบันนี้ ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์เปิดให้บริการเฉพาะการขอเสียอากร ฉบับปกติ ภายในกำหนดเวลา ดังนั้นหากต้องการขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์เกินกำหนดเวลา หรือ ยื่นแบบเพิ่มเติม ต้องยื่นด้วยแบบ อ.ส.4 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร

Wekij Liwrojsup

Share
Published by
Wekij Liwrojsup

Recent Posts

Digital Transformation เกิดได้เพราะอุปสรรคทางกฎหมายถูกทำลาย

หลายท่านคงได้ยินคำว่า Digital Transformation หรือ Digital Disruption กันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเวลานี้เนื่องจากเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแบบดั้งเดิมล้วนประสบกับผลกระทบของ Digital Disruption จากเทคโนโลยีดิจิทัลและรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจค้าปลีกต้องต่อสู้กับ e-Commerce,…

3 years ago

พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย  กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" มีหลักการ คือ หลักความเท่าเทียมกัน…

3 years ago

e-KYC คืออะไร? และ ได้รับความนิยมในประเทศไทยแบบไหนบ้าง?

e-KYC ( Electronic Know Your Customer) คือ การทำความรู้จักลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ซึ่งผู้เก็บข้อมูลของสถาบันการเงินต้องใช้ทักษะและความชำนาญของการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุตัวตนบุคลากร (Identification) และยืนยันตัวตน (Verification) แทนการใช้ KYC หรือ…

3 years ago

Paperless ใช้ชีวิตแบบไม่ใช้กระดาษ…ได้อย่างไร ??

ปัจจุบันนี้ ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกยังคงเคยชินกับการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน มองไปรอบๆ ตัวเราก็มักจะเห็นแผ่นกระดาษอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ทำไมผู้คนจึงยังไม่ได้รับความสะดวกสบายจากชีวิตที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless) คำตอบคือ นิสัย หากคุณยังเคยชินกับการทำกิจวัตรแบบเดิม ๆ ก็ยากที่จะเลิกใช้กระดาษที่บ้านหรือที่ทำงาน ต่อไปนี้เป็นนิสัย 5…

3 years ago

RPA for Manufacturing and Logistic

เพิ่มการเติบโตและผลกำไรของบริษัท โดยเชื่อมโยงกระบวนการต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานของคุณ ด้วย RPA           Kofax RPA สำหรับงานด้านการขนส่งและโลจิสติก จะช่วยคุณลดต้นทุนของการใช้คนในการทำงาน…

5 years ago

RPA for Finance and Account

RPA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางการเงิน โดยยกเลิกการทำงานโดยใช้คน           Kofax RPA สำหรับงานด้านการเงินและการบัญชีสามารถลดช่องว่างระหว่างการทำงานได้ ด้วยการทำระบบให้ทำงานอัตโนมัติและทำให้งานแต่ละขั้นตอนบนระบบงานเฉพาะทางที่ใช้อยู่รอบ ๆ ทำงานร่วมกับระบบงานหลักได้อย่างไหลลื่น โดยอาศัยซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัจฉริยะ การทำเช่นนี้จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและช่วยเพิ่มเวลาให้พนักงานของคุณได้ทำงานที่ก่อให้เกิดมูลค่ากับองค์กรได้มากขึ้น…

5 years ago