e-KYC คืออะไร? และ ได้รับความนิยมในประเทศไทยแบบไหนบ้าง?

e-KYC ( Electronic Know Your Customer) คือ

การทำความรู้จักลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ซึ่งผู้เก็บข้อมูลของสถาบันการเงินต้องใช้ทักษะและความชำนาญของการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการระบุตัวตนบุคลากร (Identification) และยืนยันตัวตน (Verification) แทนการใช้ KYC หรือ การทำความรู้จักลูกค้า แบบเดิมที่ยุ่งยาก เสียเวลา เพราะลูกค้าต้องกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร และต้องเดินทางไปแสดงตัวตนด้วยตนเอง (face-to-face) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน

ประโยชน์ที่น่าสนใจของระบบ e-KYC

  1. e-KYC เหมาะกับประเทศที่ผู้คนเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกมากขึ้น

หลายประเทศได้มีการนำเอาระบบ e-KYC มาใช้ในการช่วยยืนยันตัวเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจนเกิดความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

  1. e-KYC เป็นการทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัส

การทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัส นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมแล้ว ยังถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในยุคที่ผู้คนจำเป็นต้องปรับตัวให้กับ New Normal ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปทำธุรกรรมทางการเงินกลายเป็นเรื่องยาก และการทำ e-KYC ยังเป็นการช่วยลดการสัมผัสที่นำไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

  1. e-KYC ช่วยป้องกันการฟอกเงินและการโจรกรรมทางการเงิน

e-KYC ยังช่วยในการยืนยันตัวตนของผู้ทำธุรกรรม ที่นอกจากจะช่วยป้องกันการโจรกรรมทางการเงินที่เพิ่มสูงมากขึ้นทุกปีแล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาการฟอกเงิน และเป็นการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ก่อการร้าย เป็นต้น เพราะเป็นการระบุไอดีที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ทำให้เกิดการปลอมแปลงลอกเลียนแบบได้ยาก

  1. e-KYC ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี

กระบวนการทำงานของ e-KYC เป็นสิ่งที่เรียบง่าย ทำให้ผู้ที่ใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี และมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือ

  1. e-KYC ช่วยให้การทำธุรกรรมการเงินสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

e-KYC ยังช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบบุคคล ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการได้ นอกจากนี้การจัดสรรทรัพยากรให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อีกด้วย

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี e-KYC

  • การเก็บและตรวจสอบข้อมูลการแสดงตน
  • ความถูกต้องของเอกสารแสดงตนที่กำหนด
  • การตรวจสอบเปรียบเทียบว่าผู้ยืนยันตน เป็นบุคคลเดียวกับในเอกสารแสดงตนหรือไม่
  • ขั้นตอนการให้ทำการยืนยันตัวตนที่สะดวก ง่ายดายและไม่ยุ่งยาก
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รัดกุม และเป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดเอาไว้

ในปัจจุบัน.. ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้ในประเทศไทยมีการนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้สถาบันทางการเงินยืนยันตัวตอนของผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆมากขึ้นมามากมาย

e-KYC มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย

KYC ย่อมาจากคำว่า “Know Your Customer” หากแปลเป็นไทยอย่างตรงตัวก็คือ “กระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้า” ที่ช่วยในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) นอกจากนี้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพราะธนาคารและสถาบันทางการเงินเป็นเส้นทางการเงินที่เปิดโอกาสให้เกิดการก่ออาชญากรรม

KYC จึงเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรมที่ ณ ปัจจุบันได้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงช่องทางในการขโมยข้อมูลเองก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วยการอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการขโมยเลขบัตรเครดิตหรือเลขประกันสังคม เป็นต้น เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

จากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางทางการเงินต้องทำการตรวจสอบลูกค้าทุกคนที่ทำการเปิดบัญชี เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บุคคล ที่ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย (ผู้เยาว์) และองค์กรที่ไม่ใช้นิติบุคคล เช่น ชมรมชุมชน เป็นต้น ด้วยการทำ KYC นั่นเอง อย่างไรก็ตาม KYC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผู้ใช้งานจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือ CDD ที่ย่อมาจาก Customer Due Diligence เป็นต้น

e-KYC ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย

  1. Biometric Authentication

เป็นเทคโนโลยีป้องกันการทำ KYC ด้วยการเข้าระบบผ่านการยืนยันตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา การจดจำใบหน้า เป็นต้น

Biometric Authentication ที่มาของภาพ : Salika

ตัวอย่างการใช้ e-KYC Biometric Authentication

  • ธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย ในปัจจุบันมาใช้ในการยืนยันตัวตนในการเปิดบัญชีเงินฝากจากระยะไกล (Remote account opening) หรือธุรกรรมอื่นๆ ของธนาคารหลังจากใช้วิธียืนยันตัวตนด้วย NDID
  • แอปพลิเคชัน zDOX ใช้วิธีลงทะเบียนด้วยการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน
  • ระบบซื้อขายคริปโทเคอเรนซี มีขั้นตอนยืนยันตัวตนด้วยการสแกนหน้าผู้ใช้งานก่อนการใช้งานและรออนุมัติก่อนทำการซื้อขายได้
การสแกนใบหน้าของแอปพลิเคชัน "กระเป๋าตัง" ที่มาของภาพ : ธนาคารกรุงไทย
  1. National Digital ID (NDID)

เป็นระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ด้วยการเก็บข้อมูลที่ระบุอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล นำมาสร้างระบบเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 

ตัวอย่างการพิสูจน์ตัวตนและการเชื่อมโยงสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ที่มาของภาพ : National Digital ID Co., Ltd. (NDID)

ตัวอย่างการใช้ e-KYC National Digital ID (NDID)

  • ธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย ในปัจจุบันมาใช้ในการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆ ของธนาคารโดยไม่ต้องไปที่สาขา

ขอขอบคุณที่มา : Gurucreditcard

Kannika Pisuttikosol

Recent Posts

Digital Transformation เกิดได้เพราะอุปสรรคทางกฎหมายถูกทำลาย

หลายท่านคงได้ยินคำว่า Digital Transformation หรือ Digital Disruption กันอยู่บ่อยๆ ในช่วงเวลานี้เนื่องจากเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแบบดั้งเดิมล้วนประสบกับผลกระทบของ Digital Disruption จากเทคโนโลยีดิจิทัลและรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจค้าปลีกต้องต่อสู้กับ e-Commerce,…

3 years ago

พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย  กฎหมาย "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" มีหลักการ คือ หลักความเท่าเทียมกัน…

3 years ago

e-Stamp พร้อมใช้ สะดวกและรวดเร็ว

ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ (e-Stamp) ที่จัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระใดๆ ที่สร้างขึ้นโดยระบบของผู้ทำตราสารเพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุถึงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ โดยตราสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับต้องมีหมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซ้ำกัน มีตราสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภทใดบ้างที่สามารถซื้ออากรแสตมป์ (e-Stamp) ได้…

3 years ago

Paperless ใช้ชีวิตแบบไม่ใช้กระดาษ…ได้อย่างไร ??

ปัจจุบันนี้ ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกยังคงเคยชินกับการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านและที่ทำงาน มองไปรอบๆ ตัวเราก็มักจะเห็นแผ่นกระดาษอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ทำไมผู้คนจึงยังไม่ได้รับความสะดวกสบายจากชีวิตที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless) คำตอบคือ นิสัย หากคุณยังเคยชินกับการทำกิจวัตรแบบเดิม ๆ ก็ยากที่จะเลิกใช้กระดาษที่บ้านหรือที่ทำงาน ต่อไปนี้เป็นนิสัย 5…

3 years ago

RPA for Manufacturing and Logistic

เพิ่มการเติบโตและผลกำไรของบริษัท โดยเชื่อมโยงกระบวนการต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานของคุณ ด้วย RPA           Kofax RPA สำหรับงานด้านการขนส่งและโลจิสติก จะช่วยคุณลดต้นทุนของการใช้คนในการทำงาน…

6 years ago

RPA for Finance and Account

RPA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางการเงิน โดยยกเลิกการทำงานโดยใช้คน           Kofax RPA สำหรับงานด้านการเงินและการบัญชีสามารถลดช่องว่างระหว่างการทำงานได้ ด้วยการทำระบบให้ทำงานอัตโนมัติและทำให้งานแต่ละขั้นตอนบนระบบงานเฉพาะทางที่ใช้อยู่รอบ ๆ ทำงานร่วมกับระบบงานหลักได้อย่างไหลลื่น โดยอาศัยซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัจฉริยะ การทำเช่นนี้จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและช่วยเพิ่มเวลาให้พนักงานของคุณได้ทำงานที่ก่อให้เกิดมูลค่ากับองค์กรได้มากขึ้น…

6 years ago